วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หมาที่น่ากลัวที่สุดในโลก

7 . อัลเซเซี่ยน 


ถือเป็นสุนัขที่ได้ชื่อว่าดุพอสมควร มีเขี้ยวเล็บแหลมคม แข็งแรงว่องไว เห่าเสียงดัง ขู่ก็น่ากลัว แต่ด้วยความฉลาด
เรียนรู้เร็ว เชื่อฟังคำสั่งทำให้ อัลเซเซี่ยนดูจะดีกว่าสุนัขพันธุ์อื่นอยู่มาก รวมทั้งข่าวคราวในเรื่องเสียหายก็ไม่
ค่อยมี ดังนั้น ในวงการบันเทิงบทของ อัลเซเซี่ยน จึงเป็นสุนัขฉลาดแสนรู้ ซื่อสัตย์ ขนาดเป็นพระเอกก็ยังมี แถม
ยังมีฉากช่วยชีวิตคนอยู่บ่อยๆ (ในชีวิตจริงก็มีบ่อยๆ เหมือนกัน)


 6 . โดเบอร์แมน



เคยได้รับความนิยมช่วงหนึ่งในไทย ก่อนการมาถึงของ พิทบูลและร็อดไวเลอร์ นิยมเลี้ยงไว้เฝ้ายาม
จึงมีนิสัยดุพอสมควร ในยุโรปเป็นสุนัขพันธุ์หนึ่งที่ใช้ล่าเนื้อเพราะความปราดเปรียวของมัน ด้วยรูป
ร่างสูงเพรียว ตัวโตเต็มที่เหมือนกวางตัวย่อมๆ ส่วนเรื่องความเร็วจัดได้ว่าเป็นนักวิ่งตัวหนึ่ง 


5 . บางแก้ว 


พันธุ์ไทยกันบ้าง บางแก้ว จัดเป็นหมาไทยที่ได้ชื่อว่าดุที่สุดพันธุ์หนึ่ง และไม่น่าเชื่อว่าก่อนหน้านี้
เคยมีข่าวคนใช้ถูกบางแก้วกัดตายเหมือนกัน ทั้งนี้ก็ด้วยพิษสงของเขี้ยวเล็บที่แข็งแรง
4 .  ร็อดไวเลอร์ 



ร็อดไวเลอร์ จองพื้นที่หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์บ้านเราอยู่เป็นระยะๆ ด้วยนิสัยดุ กัดแหลกของมันทำให้ล่าสุดถึงกับ
มีการสร้างหนังชื่อ ร็อดไวเลอร์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความร้ายกาจของสุนัขพันธุ์นี้

3 . ฟิล่า บราซิเลียโร่ 




สุนัขล่าเนื้อจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงตามบ้าน เป็นสุนัขพันธุ์ดุที่สุดในโลก โดยมีสายพันธุ์ดั้งเดิมเป็นสุนัข
พื้นเมืองของบราซิล ที่เลี้ยงในไร่ขนาดใหญ่เพื่อขับไล่เสือหรือหมี 

2 . สุนัขพันธุ์ทิเบตัน มาสทิสส์


เป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Do-khyi ซึ่งแปลว่า สุนัขที่ต้องถูกผูกไว้ (tied dog) เนื่องจากอุปนิสัยที่หวงถิ่นฐาน และดุร้าย จึงต้องผูกไว้เพื่อความปลอดภัยของบุคคลภายนอก พวกมันเป็น 1 ในสายพันธุ์สุนัข ที่ ดุร้ายที่สุดในโลก สายพันธุ์หนึ่ง โดยชาวธิเบต กล่าวว่าพวกมัน ดุร้าย กล้าหาญ และแข็งแกร่งจนสามารถต่อสู้กับหมี หรือ เสือ ที่บุกเขามากินฝูงสัตว์ที่มันดูแลได้ทีเดียว 
1 อเมริกัน พิทบูล เทอเรียร์ 



เป็นสุนัขพันธุ์ที่ดุที่สุดในโลก ถึงขนาดที่ประเทศอังกฤษแบบไม่ให้มีการเลี้ยงกัน เนื่องจากมีข่าวจนเป็นคดีความ
ฟ้องร้องกันไปหลายครั้งหลายครา สุนัขพันธุ์นี้ก็เคยมีข่าวว่ากัดคนตายมาแล้วมากมาย (แต่รักเจ้าของยิ่งชีพ)

หมาที่น่ากลัวที่สุดในโลก

7 . อัลเซเซี่ยน 


ถือเป็นสุนัขที่ได้ชื่อว่าดุพอสมควร มีเขี้ยวเล็บแหลมคม แข็งแรงว่องไว เห่าเสียงดัง ขู่ก็น่ากลัว แต่ด้วยความฉลาด
เรียนรู้เร็ว เชื่อฟังคำสั่งทำให้ อัลเซเซี่ยนดูจะดีกว่าสุนัขพันธุ์อื่นอยู่มาก รวมทั้งข่าวคราวในเรื่องเสียหายก็ไม่
ค่อยมี ดังนั้น ในวงการบันเทิงบทของ อัลเซเซี่ยน จึงเป็นสุนัขฉลาดแสนรู้ ซื่อสัตย์ ขนาดเป็นพระเอกก็ยังมี แถม
ยังมีฉากช่วยชีวิตคนอยู่บ่อยๆ (ในชีวิตจริงก็มีบ่อยๆ เหมือนกัน)


 6 . โดเบอร์แมน



เคยได้รับความนิยมช่วงหนึ่งในไทย ก่อนการมาถึงของ พิทบูลและร็อดไวเลอร์ นิยมเลี้ยงไว้เฝ้ายาม
จึงมีนิสัยดุพอสมควร ในยุโรปเป็นสุนัขพันธุ์หนึ่งที่ใช้ล่าเนื้อเพราะความปราดเปรียวของมัน ด้วยรูป
ร่างสูงเพรียว ตัวโตเต็มที่เหมือนกวางตัวย่อมๆ ส่วนเรื่องความเร็วจัดได้ว่าเป็นนักวิ่งตัวหนึ่ง 


5 . บางแก้ว 


พันธุ์ไทยกันบ้าง บางแก้ว จัดเป็นหมาไทยที่ได้ชื่อว่าดุที่สุดพันธุ์หนึ่ง และไม่น่าเชื่อว่าก่อนหน้านี้
เคยมีข่าวคนใช้ถูกบางแก้วกัดตายเหมือนกัน ทั้งนี้ก็ด้วยพิษสงของเขี้ยวเล็บที่แข็งแรง
4 .  ร็อดไวเลอร์ 



ร็อดไวเลอร์ จองพื้นที่หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์บ้านเราอยู่เป็นระยะๆ ด้วยนิสัยดุ กัดแหลกของมันทำให้ล่าสุดถึงกับ
มีการสร้างหนังชื่อ ร็อดไวเลอร์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความร้ายกาจของสุนัขพันธุ์นี้

3 . ฟิล่า บราซิเลียโร่ 




สุนัขล่าเนื้อจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงตามบ้าน เป็นสุนัขพันธุ์ดุที่สุดในโลก โดยมีสายพันธุ์ดั้งเดิมเป็นสุนัข
พื้นเมืองของบราซิล ที่เลี้ยงในไร่ขนาดใหญ่เพื่อขับไล่เสือหรือหมี 

2 . สุนัขพันธุ์ทิเบตัน มาสทิสส์


เป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Do-khyi ซึ่งแปลว่า สุนัขที่ต้องถูกผูกไว้ (tied dog) เนื่องจากอุปนิสัยที่หวงถิ่นฐาน และดุร้าย จึงต้องผูกไว้เพื่อความปลอดภัยของบุคคลภายนอก พวกมันเป็น 1 ในสายพันธุ์สุนัข ที่ ดุร้ายที่สุดในโลก สายพันธุ์หนึ่ง โดยชาวธิเบต กล่าวว่าพวกมัน ดุร้าย กล้าหาญ และแข็งแกร่งจนสามารถต่อสู้กับหมี หรือ เสือ ที่บุกเขามากินฝูงสัตว์ที่มันดูแลได้ทีเดียว 
1 อเมริกัน พิทบูล เทอเรียร์ 



เป็นสุนัขพันธุ์ที่ดุที่สุดในโลก ถึงขนาดที่ประเทศอังกฤษแบบไม่ให้มีการเลี้ยงกัน เนื่องจากมีข่าวจนเป็นคดีความ
ฟ้องร้องกันไปหลายครั้งหลายครา สุนัขพันธุ์นี้ก็เคยมีข่าวว่ากัดคนตายมาแล้วมากมาย (แต่รักเจ้าของยิ่งชีพ)

สุนัขพันธ์ต่างๆ


รูป สุนัขพันธุ์ต่างๆ ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด

1.Labrador Retriever (ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์) 


สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์นี้มีต้นกำเนิดในรัฐนิวฟาวด์แลนด์ประเทศแคนาดา โดยใช้ช่วยงานชาวประมงในการลากอวนเข้าฝั่ง ปีที่กำเนิดประมาณ ค.ศ. 1800 และต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุนัขต้นสายพันธุ์ลาบราดอร์ได้ถูกนำจากนิวฟาวด์แลนด์มาที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสุนัขที่มีสีดำ ขนสั้นทั้งสิ้น แต่ด้วยความที่มีการเก็บค่าภาษีสุนัขที่แพงมาก ประกอบกับกฏระเบียบที่เข้มงวดของอังกฤษทำให้การนำเข้าสุนัขพันธุ์นี้ไปยังอังกฤษต้องหยุดชะงักลง เมื่อความต้องการลดน้อยลงคนจึงเลิกเพาะ จนมีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่โดยผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขในกลุ่มรีทรีฟเวอร์ในปี ค.ศ. 1903 จะเห็นได้ว่าเดิมสุนัขพันธุ์นี้มีแต่สีดำ แต่หลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ในภายหลังทำให้เกิดสีเหลืองตามมา ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและถูกต้องตามมาตรฐานสายพันธุ์ หรือแม้จะเป็นสีช็อคก็ได้รับความนิยม

ปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้นอกจากจะใช้งานในการล่าสัตว์แล้ว ยังใช้ในการตรวจค้นหายาเสพติด ระเบิด และช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาอีกด้วย

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะทั่วไป : เป็นสุนัขที่มีโครงสร้างแข็งแรง ฝึกง่าย มีความกระตือรือร้น ขนาดใหญ่ ตัวผู้สูง 22.5-24.5 นิ้ว หนัก 60-75 ปอนด์ ตัวเมียสูง 21.5-23.5 นิ้ว น้ำหนัก 55-70 ปอนด์ (ส่วนสูงถึงหัวไหล่ และน้ำหนักโดยประมาณ 25-34 กิโลกรัม)
ศีรษะ : กะโหลกใหญ่กว้าง สันจมูกมี STOP ขอบบนของเบ้าตาเป็นสันนูนขึ้นเล็กน้อย
ตา : ตามีแววที่เป็นมิตร มีขนาดปานกลางไม่โปนหรือบุ๋มลึกเข้าไป มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ
จมูก : จมูกใหญ่และกว้าง มีสีดำสนิทหรือสีน้ำตาล (ขึ้อยู่กับสีขน)
ฟัน : ฟันต้องสบกันพอดี โดยฟันล่างสัมผัสด้านในของฟันบน
หู : หูจะปรกด้านข้างของหัว มีขนาดพอดี ถ้าดึงปลายหูมาด้านหน้าจะยาวระดับตา
ลำตัว : คอยาวเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเป็นลักษณะของสุนัขที่ใช้ในเกมกีฬา เส้นหลังตรง ลำตัวสั้น ช่วงอกกว้างหนา กระดูกซี่โครงค่อนข้างกลม
หาง : ส่วนโคนหางมีขนาดใหญ่ กลม หนา เรียวไปยังส่วนปลาย ไม่มีพู่หาง หางคล้ายหางของนาก
ขน : ขนสั้น เหยียดตรงและหนา มีขนสองชั้น ขนเรียบ มีสามสี สีดำสนิท สีน้ำตาลเข้ม หรือสีเหลืองหรือครีมจาง
ขา : ขาหน้าเหยียดตรงแข็งแรง อุ้งเท้าหนา นิ้วเท้าโค้งมาก ขาหลังแข็งแรงได้ส่วน
ลักษณะนิสัย : เป็นสุนัขที่ฉลาด ใจดี เป็นมิตร สุภาพ ไม่ก้าวร้าวต่อคนและสุนัขด้วยกัน อยู่รวมเป็นฝูงได้ ชอบว่ายน้ำ ตอบสนองรวดเร็ว สามารถฝึกความสามารถพิเศษอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ใช้เป็นสุนัขค้นหาผู้ประสบภัย ค้นหายาเสพติด ฯลฯ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ง่าย
สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ : เป็นสุนัขที่อ้วนได้ง่าย ควรพาไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ และได้รับอาหารที่ถูกสุขลักษณะ


2.Golden Retriever (โกลเด้น รีทรีฟเวอร์)

(พันธ์นี้ จขกท อยากเลี้ยงมาก แต่ไม่มีปัญญาหามาเลี้ยง T^T)
ข้อมูลเยอะหน่อยนะ

ดูจากสีขนที่เหลืองเป็นสีทองไปทั้งตัว ประกอบกับใบหน้ากว้างและดูปราดเปรียวแล้ว ลักษณะทุกอย่างของสุนัขพันธุ์นี้ส่อให้เห็นถึงท่าทีอันสุภาพเป็นมิตร สุนัขพันธุ์นี้จึงเป็นที่นิยมไปทั่วทุกมุมโลก รูปร่างอันงดงามของโกลเด้น รีทรีฟเวอร์นั้นใช่ว่าจะสวยแต่รูปก็หาไม่ ความสามารถของมันนั้นไม่เบา ไม่แพ้พันธุ์เก็บนกชนิดอื่นๆ หรือพวกพันธุ์สแปเนี่ยลตัวเป้งๆ ในระหว่างฤดูหนาวของแคนาดาซึ่งหนาวใช่ย่อย มันก็ยังลุยเก็บนกเป็ดน้ำได้อย่างสบาย

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัวสูง เป็นสุนัขที่มีความเฉลียวฉลาดมากมากจนสามารถนำมาฝึกเพื่อใช้งานได้ เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป จัดว่าเป็นสุนัขที่มีประสาทสัมผัสดีเลิศทั้งในด้านของการฟังเสียง การดมกลิ่นสะกดรอย นอกจากนี้ยังมีสายตาอันเฉียบคมและแม่นยำ ด้วยเหตุนี้วงการทหารและตำรวจในหลายๆ ประเทศจึงได้นำสุนัขพันธุ์นี้มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงานราชการ อาทิเช่น ตรวจค้นยาเสพติด, ดมกลิ่นสะกดรอยคนร้าย, ยามรักษาความปลอดภัย แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงสุด ก็เห็นจะได้แก่ฝึกให้เป็นสุนัขนำทางคนตาบอด ทั้งนี้เพราะโกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขซึ่งฉลาด แต่ไม่ค่อยเจ้าเล่ห์หรือซุกซนเหมือนสุนัขบางพันธุ์

เจ้าสีทองพันธุ์นี้ปรากฏขึ้นในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเมืองอังกฤษในทศวรรษที่ 1860 เป็นสุนัขที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขในกลุ่มสแปเนี่ยล ซึ่งเป็นสุนัขที่มีความวชาญทางน้ำเป็นพิเศษ โดยมีขนาดเล็กกว่าสุนัขพันธุ์นิวฟาวน์แลนด์ แต่มีลักษณะโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน สันนิษฐานว่าอาจผสมข้ามพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ไอริชเซทเทอร์ และสุนัขในกลุ่มวอเตอร์สแปเนี่ยล โดยอาจมีสายเลือดของสุนัขพันธุ์บลัดฮาวน์เข้าไปเจือปนอยู่ด้วย

ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 สุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์หรือที่บางคนเรียก เยลโล่ รีทรีฟเวอร์ ( YELLOW RETRIEVER ) ก็เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในประเทศอังกฤษ จนในปี ค.ศ. 1908 ก็ได้จัดให้มีการประกวดสุนัขพันธุ์นี้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่คริสตัลพาเลซ และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการจัดตั้งชมรมสุนัขพันธุ์นี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ

สำหรับในสหรัฐอเมริกา โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในราวปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา โดยชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะเลี้ยงโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ไว้เพื่อเป็นนักล่า แม้ทางสมาคม AKC ของสหรัฐอเมริกาจะให้การรับรองสุนัขพันธุ์นี้เข้าไว้ในทำเนียบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1925 แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยได้รับจากผู้เลี้ยงที่คิดอยากจะส่งสุนัขเข้าประกวดซักเท่าไหร่ เนื่องจากผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับประสิทธิภาพของการใช้งานมากกว่าการประกวด และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ทางสมาคม AKC ก็ได้จัดให้มีการประกวดความสามารถและความฉลาดแสนรู้ของสุนัข ซึ่งผลปรากฏว่าสุนัขที่ได้รางวัลที่ 1-3 ล้วนเป็นสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ทั้งสิ้น จากผลการประกวดในครั้งนั้นทำให้ชาวอเมริกันเริ่มเกิดความตื่นตัว และหันมาให้ความสนใจเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มากขึ้น

สำหรับในด้านของสายพันธุ์ ในยุคสมัยแรกๆ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์จะมีสีเฉพาะสีทองหรือสีน้ำตาลออกไปทางเหลือง ( ซึ่งก็มีด้วยกันหลายเฉด ) แต่พอมาในช่วงหลังๆ ก็ได้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีขนสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้ ซึ่งสีนี้ก็เป็นสีที่นิยมมากพอสมควรทั้งในยุโรปและอเมริกา เนื่องจากเป็นสีที่แปลกใหม่

มาตราฐานสายพันธุ์ 
ลักษณะทั่วไป : โครงสร้างได้ส่วน และดูแข็งแกร่งทรงพลัง เป็นสุนัขที่มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ
เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างจะเป็นมิตรกับทุกๆ คน ดังนั้นจึงสามารถพาไปไหนมาไหนโดยไม่สร้างปัญหา มีความเฉลียวฉลาด ว่านอนสอนง่าย เป็นสุนัขที่มีความปราดเปรียวและอดทน ลีลาในการย่างก้าวหรือไหวเป็นไปด้วยความนิ่มนวล

อุปนิสัย : มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ

ศีรษะ : กะโหลกใหญ่และกว้างโค้งได้รูปสวยงาม ไม่หยักเป็นร่องลึกหรือโหนกนูนจนมีลักษณะเป็นรูปโดม ช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูก ปาก และหน้าผาก มีความลาดเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับหัก หรือเชื่อมต่อเป็นเส้นตรงเดียวกัน ใบหน้าลึกและกว้างขนาดพอๆ กับศีรษะ, สันจมูก, ปาก เป็นเส้นตรงเวลามองจากด้านข้างปลายจมูก ปากค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นรับกับขนาดของกะโหลกศีรษะ ลักษณะรูปทรงคล้ายลิ่มแลดูแข็งแกร่ง หนังย่นบริเวณหน้าผากอนุโลมให้มีได้ แต่ลักษณะของใบหน้าที่สวยงาม หนังบริเวณใบหน้าควรจะเรียบตึง

ฟัน : ต้องขบกันได้แนบสนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันด้านหน้าแถวบนขบเกยอยู่ด้านนอก ซึ่งลักษณะของฟันสำหรับสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีหน้าที่ในการเก็บหรือคาบเหยื่อ ดังนั้นอำนาจในการขบกัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากสุนัขมีฟันหน้าชุดบนและชุดล่างขบเสมอกันพอดีเหมือนประตูลิฟท์ถือว่าใช้ไม่ได้ แต่ยังพออนุโลมผ่อนผันให้ได้ เว้นแต่ฟันหน้าชุดล่างขบเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันหน้าชุดบนและล่างขบเกยไม่สนิทกันถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง ถ้าฟันมีคราบหินปูนเกาะ ฟันผุ หรือฟันมีลักษณะเว้าแหว่งถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นกัน

จมูก : จะต้องเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล ส่วนจะเข้มหรืออ่อนก็ขึ้นอยู่กับสีขน แต่ถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง

หู : หูควรสั้นพอประมาณ ใบหูมีลักษณะห้อยปกลงแนบกับส่วนแก้ม รูปทรงค่อนไปทางรูปสามเหลี่ยม ปลายมน เวลาดึงใบหูไปด้านหน้าความยาวของใบหู หูควรปกคลุมลูกตาได้พอดี แต่ถ้าหากฐานใบหูตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำเกินไป หรือหูมีลักษณะเหมือนสุนัขในกลุ่มฮาวน์ หรือดัชชุน ถือเป็นข้อบกพร่อง

ลำคอ : ควรยาวพอประมาณ ลำคอควรตั้งบนหัวไหล่ แลดูมั่นคงกล้ามเนื้อแลเห็นเด่นชัด ขนบริเวณรอบคอห้ามมีการตกแต่ง คอต้องไม่มีเหนียงยื่นโผล่ออกมา

ลำตัว : โครงสร้างลำตัวกระชับได้ส่วน อกลึกและกว้าง ความกว้างของอกอย่างน้อยควรมีขนาดพอๆ กับ ฝ่ามือของผู้ชายวางทาบเสมอพอดี ส่วนความลึกของอกควรลึกเสมอข้อศอกขาหน้า กระดูกซี่โครงควรโค้งได้รูปแข็งแรง โดยส่วนแผ่นหลังจะแลดูหนากว่าใต้ท้อง ลำตัวเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีความลึกและหนาแลดูบึกบึน แผ่นหลังเรียบตรง โดยมีลักษณะลาดเทจากหัวไหล่ ไปทางบั้นท้ายเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นเวลายืนนิ่งๆ หรือกำลังเคลื่อนไหว โกลเด้น รีทรีฟเวอร์มีหน้าอกเล็กแคบ อกตื้น เส้นหลังแอ่นหรือลาดเทมากเกินไป หรือก้นโด่ง ลำตัวบอบบางเกินไป เวลาเคลื่อนไหวเส้นหลังแกว่ง แลดูขาดความแข็งแกร่งล้วนเป็นข้อบกพร่อง

อุ้งเท้า : มีขนาดปานกลาง เป็นรูปทรงกลม อุ้งเท้ากระชับ นิ้งเท้าไม่กางแบะออกเหมือนตีนเป็ด ขนบริเวณใต้อุ้งเท้าควรได้รับการขลิบออก เพื่อช่วยให้การยึดเกาะมั่นคงยิ่งขึ้น นิ้วติ่งขาหน้าควรกำจัดออกให้หมด แต่โดยปกติจะไม่ค่อยปรากฏนิ้งติ่งให้เห็น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เวอร์ที่มีอุ้งเท้าแบะหรืออุ้งเท้าแหลมคล้ายอุ้งเท้าของกระต่าย ถือเป็นข้อบกพร่อง

หาง : ควรตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงสุดต่อจากเส้นหลัง หางมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณโคนหางควรจะมีกล้ามเนื้อ ปกติหางจะมีลักษณะห้อยลงต่ำโค้งได้รูปกับสะโพก ความยาวของหางพอๆ กับมุมข้อศอกขาหลัง ในยามที่สุนัขที่ดีใจหางจะโบกสะบัดไปมา บางครั้งอาจงอม้วนขึ้นสูงเหนือระดับแผ่นหลัง

ลำตัวหน้า : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเหมาะสมรับกับลำตัวส่วนหลังขณะที่เดินหรือวิ่ง การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ การก้างย่างของขาอยู่ในแนวเดียวกับรัศมีของหัวไหล่ กระดูกขามีขนาดค่อนข้างใหญ่และเหยียดตรง กระดูกข้อเท้าสั้นและแข็งแรง มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย

ลำตัวหลัง : หนาและแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ บั้นท้ายมีลักษณะลาดเทเล็กน้อย กระดูกขาท่อนบนทอดไปทางด้านหลัง ส่วนกระดูกขาท่อนล่างเหยียดตรงทำมุมฉากกับพื้น โดยขาท่อนล่าง(แข้ง)ยิ่งมีขนาดสั้นเท่าไหร่ย

ขน : ขนดกแน่น สามารถปกป้องน้ำได้เป็นอย่างดี ขนมี 2 ชั้น ขนชั้นนอกจะยาวและมีลักษณะค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ถึงกับหยาบกระด้าง เส้นขนมีความยืดหยุ่นในตัว ถ้าหากขนมีลักษณะเส้นเล็กหรือไม่ดกแน่นถือเป็นข้อบกพร่อง ลักษณะของขนที่ถูกต้องจะต้องขึ้นแนบติดลำตัว ส่วนเส้นขนจะเหยียดตรงหรือหยักศกเล็กน้อยไม่เป็นข้อบกพร่อง สำหรับขนบริเวณด้านหลังของขาและใต้ท้องจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อนนุ่มกว่าขนตามลำตัว โดยเฉพาะขนที่บริเวณใต้คอ ด้านหลังของต้นขาหลัง และขนใต้หาง จะมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ ส่วนขนบริเวณศีรษะ ด้านหน้าของขา(หน้าแข้ง) และเท้าจะมีลักษณะสั้นและเรียบ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีเส้นขนยาวจนเกินไป ขนฟูเป็นกระเซิงไม่แนบติดกับลำตัว หรือมีขนเบาบางไม่ดกแน่น ขนเส้นเล็กล้วนถือเป็นข้อบกพร่อง การตัดแต่งขนจะตัดเฉพาะอุ้งเท้าเท่านั้น

สี : สีต้องเป็นสีน้ำตาลออกทอง ส่วนจะมีสีเข้มอ่อนไม่มีปัญหา ขนตามใบหน้าและลำตัวอาจจะมีเหลือบเทาหรือขาวก็ได้ แต่ถ้าเป็นรอยแต้มด่างสีขาว หรือมีขนสีขาวขึ้นแซมถือเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีขนสีทองอ่อน ซึ่งมีสีจืดหรือจางมากๆ และสีขาวด่างที่ปรากฏแลดูกลมกลืนกับสีขน ก็ถือเป็นข้ออนุโลม และถ้าหากพื้นที่ของสีขนส่วนใหญ่มีสีซีดจางเกินไป หรือเข้มมากเกินไปก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง พูดง่ายๆ ก็คือ ถามีขนออกไปทางโทนสีครีมอ่อนๆ หรือสีน้ำตาลไหม้ ขนส่วนนี้จะต้องมีพื้นที่เป็นเพียงส่วนน้อยของขนทั้งหมด คือจะต้องมีโทนสีเข้มกว่าหรืออ่อนกว่ามาช่วยเสริม และสีขนส่วนที่จะมาช่วยเสริมต้องครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า โกลเด้น รีทรีฟเวอร์บางสายพันธุ์ขณะที่ยังเป็นลูกสุนัขอาจจะมีสีซีดจาง แต่เมื่อโตขึ้นสีก็จะเข้มขึ้นโดยธรรมชาติ สำหรับโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีสีอ่อน นอกเหนือจากที่กล่าวมาล้วนถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง

การเคลื่อนไหว : การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ แลดูนุ่มนวลแต่ทรงพลังและสง่างาม เวลาที่วิ่ง ระยะการย่างก้าวของขาหน้าและขาหลังจะต้องมาบรรจบกันที่กึ่งกลางลำตัว เวลาเดินหรือวิ่งขาต้องไม่แกว่งหรือปัด ซึ่งในการประกวดการเคลื่อนไหวของโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก

ขนาด : เพศผู้ควรมีความสูงระหว่าง 23-24 นิ้ว(ความสูงวัดที่หัวไหล่ขาหน้า) ส่วนเพศเมียควรมีความสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 21-22 นิ้ว หากความสูงน้อยกว่าหรือมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 1 นิ้ว ถือเป็นข้ออนุโลม แต่ถ้าสูงหรือเตี้ยกว่าเกิน 1 นิ้ว จากเกณฑ์มาตรฐานถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมาก สำหรับความยาวของลำตัวโดยวัดจากหน้าอกถึงบั้นท้าย ควรมีส่วนความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย คือ ส่วน 12 :11 ส่วนน้ำหนักของสุนัขเพศผู้ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 65-75 ปอนด์ สำหรับเพศเมีย 55-56 ปอนด์

อารมณ์ : ควรมีความเป็นมิตรกับทุกๆ คน ไม่มีนิสัยขี้หวาดระแวงและดูน่าเชื่อไว้วางใจได้ ไม่มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย แต่ก็ไม่ขี้ขลาดตาขาวด้วย

3.Poodle (พุดเดิล)

สัตว์น้อยแสนไฮโซ - -

Poodle ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีกำเนิดในประเทศใด บางข้อมูลกล่าวว่ามีกำเนิดในประเทศเยอรมัน โดยรู้จักกันในนาม Pudle แต่บางท่านกล่าวว่า Poodle เป็นสุนัขประจำชาติของฝรั่งเศส โดยชาวฝรั่งเศสมักนิยมใช้สุนัขพันธุ์นี้ ในการคาบสิ่งของหรือฝึกแสดงในละครสัตว์และชอบที่จะตัดแต่งทรงขน ซึ่งมีลักษณะหยิกแน่นเป็นขดเป็นทรงต่างๆตามแฟชั่นเป็นที่โปรดปราน แก่บรรดาคุณหญิงคุณนายชาวฝรั่งเศสกันมาช้านาน

สุนัขพันธุ์นี้สืบเชื้อสายมาจากพันธุ์ Water Retriever จึงมีความสามารถพิเศษในการว่ายน้ำ Poodle มี 3 ขนาด โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปคือ Toy poodle, Miniature Poodle, Standard Poodle โดยขนาด Standard Poodle ถือกำเนิดก่อน Poodle ขนาดอื่นๆ ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาจึงมีคัดเลือกสหพันธุ์ที่เล็กลง ผสมผสานจนเกิดเป็น Miniature และ Toy Poodle ขึ้น ทั้งสามขนาดนี้กำหนดขึ้นให้เป็นมาตรฐานประกวดไปทั่วโลกในปัจจุบัน

มาตราฐานสายพันธุ์ 
อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ช่างประจบประแจง ขี้อิจฉา สอนง่าย รักสะอาด จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาช้านานทั่วทุกมุมโลก

หู : ห้อยแนบชิดส่วนหัว โคนหูจะอยู่ในระดับต่ำกว่าตาเล็กน้อย หูมีขนยาว ใบหูค่อนข้างกว้างและหนา

ศีรษะ : หัวกะโหลกมีลักษณะค่อนข้างกลม แก้มค่อนข้างแบนหากมองจาด้านบน ลักษณะจากส่วนหัวถึงปลายจมูกจะมีลักษณะคล้ายรูปหยดน้ำ

ตา : มีลักษณะเป็นรูปกลมค่อนข้างรี คล้ายผลอัลมอนด์ ตาสีเข้ม ขอบตาเข้ม ตามีแววร่าเริง ตื่นตัวเสมอ

ดั้งจมูก : มีมุมหักพอสมควรหรือลาดลง

ปาก : ความยาวของปากมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของหัวกะโหลก สันปากตรงแข็งแรง ริมฝีปากตึงไม่ห้อยหย่อนยานหรือปากล่างหนาจนเกินไป

ฟัน : ขาวแข็งแรง ขบแบบกรรไกร
ลำตัว : มองจากด้านข้าง มีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความสูงของลำตัวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของลำตัว เส้นหลังตรงแข็งแรง

คอ : มีขนาดค่อนข้างยาว ทำให้ Poodle ดูสง่างาม ขณะเชิดหัวขึ้นหนังคอตึง คอประกอบด้วยกล้ามเนื้อ

อก : ลึก กว้างพบประมาณ

เอว : สั้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ

ขาหน้า : มองจากด้านหน้า ขาหน้าตั้งตรง ขาหน้าทั้ง 2 ข้างขนานกัน ห่างกันพอเหมาะ มองจากด้านข้างอยู่ในแนวเดียวกับหัวไหล่ ขาหน้ามีกระดูกและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กับขนาดของสุนัข ข้อเท้าหน้าแข็งแรง เท้ามีขนาดเล็ก รูปกลมรีไม่แบนเหมือนตีนเป็ด ฝ่าเท้าหนา เท้าชี้ตรงไปด้านหน้า ไม่บิดซ้ายบิดขวา นิ้วติ่งตัดออก เล็บควรตัดสั้น

ขาหลัง : มองจากด้านหลัง ขาหลังตรง ขนานกัน ขาหลังท่อนบนมีกล้ามเนื้อมาก ข้อเท้าสั้น ตั้งฉากกับพื้น ขาเท้าหลังทำมุมพอประมาณ และสัมพันธ์กับลำตัวส่วนหน้า เท้าหลังมีลักษณะเหมือนเท้าหน้าคือไม่บิดซ้ายบิดขวา

หาง : โคนหางอยู่ในระดับสูง หางตั้งตรงไม่ชี้เอนไปด้านหลังขณะเดิน หางนิยมตัดออก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของหางทั้งหมด

ขน : Poodle มีขน 2 ชั้น ขนชั้นบนอ่อนนุ่ม ขนชั้นนอกยาว ขนชั้นนอกนี้มี 2 ชนิด คือ ชนิดหยิกและชนิดหยิกคลายเป็นเกลียวคลื่น Poodle นิยมตัดแต่งขนให้มีรูปทรงต่างๆ กันได้หลากหลายตามแฟชั่นในแต่ละสถานที่ แต่มีข้อบังคับแน่นอนในสนามประกวด ดังนี้ อายุน้อยกว่า 12 เดือน ตัดทรง Puppy Clip เมื่ออายุเกิน 12 เดือนไปแล้วต้องตัดทรง English หรือทรง Continental Clip

สี : มีขนสีเดียวตลอดทั้งตัว ขนอาจมีสีจางลงได้ Poodle ขาวอาจมีสีครีมอ่อนที่หูได้ แต่ไม่ใช่สีตัดกันจนเป็นสีน้ำตาล Poodle สีน้ำตาลช็อกโกแลต กาแฟ แอปปริคอท มักมีจมูก, ขอบตา, เล็บ, ริมฝีปาก สีน้ำตาลเข้มๆ หรือสีตับ ส่วน Poodle สีดำ เทาดำ เทาเงิน ครีม และขาวจะมีจมูก, เล็บ, ขอบตา, ริมฝีปากและไรจมูกเป็นสีดำ

ขนาด : Poodle มี 3 ขนาดและจัดอยู่ในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ Standard Poodle มีขนาด ความสูงไม่ต่ำกว่า 15 นิ้ว Miniatrue Poodle มีความสูง 11-15 นิ้ว ทั้ง 2 ขนาดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ Non-Sporting Toy Poodle มีขนาดความสูงไม่เกิน 11 นิ้ว จัดอยู่ในกลุ่ม Toy ส่วนขนาด Tea-Cup ซึ่งเล็กกว่า Toy Poodle เป็นเพียงขนาดไม่ได้จัดประกวด มีความสูงตั้งแต่ 8 นิ้วลงไป นับเป็น Pet-Quality ที่นิยมเลี้ยงกันเท่านั้นจะเข้าประกวดไม่ได้เลย ถือเป็น Poodle ที่ด้อยผิดมาตรฐานของสายพันธุ์ Poodle ทั่วๆ ไป

การเดิน : มีความสง่างาม ขณะเดินหรือวิ่ง ขาหน้าไม่แกว่งหรือยกเตะสูงเหมือนพันธุ์ Miniatrue Pinscher จะเหวี่ยงขว้างไกลไปข้างหน้าเช่นเดียวกับขาหลัง หัวตั้งตรง ขณะเดินไม่โยกไปมา ขาแข็งแรง ก้าวอย่างมั่นใจ

ข้อบกพร่อง : มีหลายสีในตัวเดียวกัน เป็น Under หรือ Overshot ตากลมโปน ขาบิด เดินไขว้ เดินเตะสูง ขนาดกลัว ดุร้ายขณะประกวด ตัดแต่งขนผิดทรงและ Oversize ในกลุ่มนั้นๆ
การตัดขนมาตรฐานสำหรับพุดเดิ้ล

วิธีดูแลหมา

การเลี้ยงสัตว์, หมา, สุนัข


บ้านไหนที่เพิ่งจะมีสุนัข เรามีวิธีการดูแลสุนัขง่ายๆ มาฝากกันค่ะ...

- ไม่ควรเลี้ยงลูกสุนัขไว้บนพื้นที่ลื่น เช่น พื้นกระเบื้อง หินอ่อนขัด เป็นต้น เพราะจะทำให้ขาสุนัขไม่สวย ขาจะแบะออกคล้าย ๆ กับว่ายืนได้ไม่มั่นคง

- ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกสุนัขที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ถ้ารู้สึกว่าสกปรกใช้ผ้าน้ำเช็ดขนข้างนอกก็พอ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ อาบน้ำแล้วให้รีบเช็ดและเป่าให้แห้ง เดี๋ยวสุนัขจะเป็นหวัด

- ระวัง! อย่าให้ลูกสุนัขมุดใต้กรง หรือใต้อะไรที่แข็งและเป็นคาน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าไปติด ถูกกดทับ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นหลังเสียได้ (กระดูกสันหลังจะแอ่น)

- ควรดูแลรักษาปากและฟันของสุนัข อย่าให้กัดแทะของแข็งเกินไป เดี๋ยวฟันไม่แข็งแรง ควรหากระดูกเทียมให้สุนัขแทะเล่น เอากระดูกแบบสีขาวและมีฟลูออไรด์ด้วยจะได้ทำความสะอาดฟันสุนัขไปในตัว

- เมื่อสุนัขเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว (อายุ 7-8 เดือน) อย่าเพิ่งรีบให้ผสมพันธุ์ เพราะสุนัขยังไม่โตเต็มที่ อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตและทำให้ตัวเล็ก แล้วก็อาจจะแท้งหรือให้ลูกที่ไม่สมบูรณ์

- เมื่อเริ่มโตสุนัขจะเริ่มมีขนร่วง ไม่ต้องแปลกใจเป็นธรรมชาติของสุนัขที่มีการเจริญเติบโต

- อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารเม็ด เพราะสะดวกรวดเร็ว ถ้าให้อาหารทำเอง สุนัขจะเลือกกินแล้วจะไม่กินอาหารเม็ด อย่าให้แทะกระดูกจริงเพราะจะไปทิ่มเอากระเพาะสุนัขจะติดคอได้ง่าย

- การฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ ควรทำตามตารางที่สัตว์แพทย์แนะนำ

บ้านไหนมีสุนัข อย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปดูแลสุนัขตัวโปรดกันได้.